หลักธรรมที่พึ่งนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

หลักธรรมที่พึ่งนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ควรดำเนินการดังนี้

  1. ฝึกการใฝ่หาความรู้ แบ่งออกได้เป็น 2 ทางคือ

การศึกษาทางโลกหมายถึง การศึกษาเล่าเรียนวิชาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำมาหากิน หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการทำการงานทางโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาชั่วระยะเวลาหนึ่ง การศึกษาทางโลกหรือการทำการงานทางโลก เป็นการกระทำที่ไม่มีวันสิ้นสุด ทำแล้วทำอีก หมดรุ่นนี้เดี๋ยวก็มีรุ่นใหม่มาให้ทำ เหมือนระลอกคลื่นที่เกิดขึ้น คลื่นลูกใหม่จะเกิดขึ้นไล่คลื่นลูกเก่าให้กระทบฝั่งไป เกิดอยู่เช่นนี้เป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป เรียกว่าโลกิยะวิสัย ซึ่งไม่เคยมอบความสำเร็จให้แก่ใคร ใครที่ยังมั่วสุมอยู่กับการงานทางโลกหรือการศึกษาทางโลก จึงไม่มีวันเสร็จงานหรือเสร็จการศึกษา

การศึกษาทางธรรม หมายถึง การงานทางธรรม ทำเสร็จแล้วไม่ต้องทำอีก ไม่ต้องศึกษาอีก ได้เป็นอเสกขะบุคคลแล้ว คือบรรลุนิพพานแล้ว ไม่ต้องศึกษาขวนขวายอะไรอีก มีแต่ทรงไว้และสงเคราะห์ แต่เสวยสุขซึ่งเป็นผลของการศึกษาทางธรรมไปเรื่อยๆ เมื่อหมดอายุขัยทางโลกแล้ว จิตวิญญาณดวงนั้นก็จะเสวยสุขหลุดพ้นอยู่แดนนิพพานตลอดไป

  1. ฝึกบังคับตนเองไม่ทำความชั่วทั้งปวง การไม่ทำความชั่วทั้งปวงได้แก่

          2.1 การไม่ทำความชั่วทางกาย ได้แก่ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ลักขโมย ไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น

2.2 การไม่ทำความชั่วทางวาจา ได้แก่ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดหลอกลวง ไม่พูดคำหยาบ

2.3 การไม่ทำความชั่วทางใจ ได้แก่ ไม่คิดโลภ ไม่คิดพยาบาท ไม่เห็นผิดเป็นชอบ

3. ฝึกการทำความดี การกระทำความดี 3 ทางคือ

      3.1การทำความดีทางกาย ได้แก่ มีเมตตากรุณาช่วยเหลือผู้อื่น

3.2 การทำความดีทางวาจา ได้แก่ พูดแต่ความจริง พูดแต่คำสุขภาพอ่อนหวาน ไม่พูดคำหยาบคาย

3.3 การทำความดีทางใจ ได้แก่ พอใจแต่สิ่งที่ได้มาโดยชอบ

  1. การฝึกจิตให้บริสุทธิ์ การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้สะอาดหมดจดจากสิ่งอันเป็นเครื่องเศร้าหมองที่เรียกว่า กิเลส

กิเลส เป็นภาบาลี แปลว่า เศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ซึ่งสาเหตุหรือต้นตอของกิเลสก็คือ อวิชชา ที่แปลว่าสภาพที่ปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง ความไม่รู้นี้เป็นเหตุให้เศร้าหมอง กิเลสจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ โลภะ โทสะ โทสะ และโมหะ รวมเรียกว่า อกุศลมูล ลักษณะที่เรียกว่า โลภะ เช่น ความโลภ อยากได้ในทางทุจริต การกอบโกยผลประโยชน์ใส่ตนโดยไม่คำนึงถึงกรรมสิทธิ์และจิตใจของผู้อื่น การอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน เป็นต้น

ลักษณะที่เรียกว่า โทสะ เช่น ความโกรธ เคียดแค้น อาฆาตพยาบาท คิดประทุษร้าย เป็นต้น ลักษณะที่เรียกว่า โมหะ เช่น ความลังเลสงสัย ความประมาท ความหดหู่ท้อแท้เซื่องซึม ความเห็นผิดเป็นชอบ เป็นต้น

วิธีการทำจิตใจให้บริสุทธิ์

การทำจิตใจให้บริสุทธิ์นั้นมีหลายระดับขั้น ขั้นแรก คือ การฝึกใจให้บรรเทาเบาบางจากสิ่งอันเป็นกิเลสต่างๆ เช่น ความโลภอยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน ความโกรธ เป็นต้น เมื่อทำได้แล้วก็พยายามทำในสิ่งที่ละเอียดยิ่งขึ้น กล่าวคือ พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัว หรือเกิดกังวล การจะทำเช่นนี้ได้ก็ด้วยการบำเพ็ญกุศล รักษาศีล และแผ่เมตตา ต่อไปก็เป็นขั้นสูง คือ การทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยการปฏิบัติธรรมคือการเจริญภาวนา อันเป็นการฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความสงบ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เกิดวิชชา ซึ่งหมายถึงสภาพอันเป็นความรู้อันถูกต้อง เมื่อเกิดวิชชา สิ่งต่างๆ ก็จะเป็นไปในทางสะอาด สว่าง สงบ ในที่สุดจะสามารถละกิเลสได้ตามผลแห่งการปฏิบัตินั้นๆ และเมื่อละกิเลสได้แล้ว จิตใจก็จะสะอาดบริสุทธิ์

แสดงความคิดเห็น
PAGE TOP